ฐานการเรียนรู้ที่ 2 เลี้ยงปลาดุกและกบ


 เลี้ยงปลาดุกและกบ


         จากภูมิปัญญาชาวบ้าน ในเรื่องการการเลี้ยงปลาดุกและกบ  ทำให้นักเรียนได้รู้และเห็นคุณค่า ประโยชน์ ในการเลี้ยงปลาดุกและกบ  ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเพื่อไปใช้ในชีวิตประจำวันและเพื่อเป็นการปลูกฝังในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๐ เลี้ยงปลาดุกและกบ  เพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับเด็กนักเรียนและสามารถนำไปประกอบวิชาชีพในชีวิตประจำวัน  และสืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป
การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลาดุก สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน บ่อซีเมนต์และในกระชัง แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยงในบ่อดิน ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน 1 ไร่ หรือตามความเหมาะสมของพื้นที่ปัจจุบันนี้ พบว่า ปลาดุกมีขายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปและมีราคาสูง เนื่องจากความนิยมของประชาชน และค่านิยมในการเลี้ยงได้ลดน้อยลง แต่การเลี้ยงสามารถเลี้ยงได้ง่าย โตเร็วและอดทนต่อสภาพแวดล้อมจึงทำให้มีผู้ที่สนใจในการเลี้ยงมากขึ้นในปัจจุบันการเลี้ยงปลาดุกในปัจจุบันปลาดุกที่นิยมเลี้ยงกันมากคือ ปลาดุกลูกผสมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "บิ๊กอุย"   ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกอุยกับปลาดุกรัสเซีย(ดุกยักษ์ หรือดุกเทศ) ซึ่งปลาดุกลูกผสมนี้จะเลี้ยงง่ายโตเร็ว และต้านทานโรคได้ดี
                
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์แบบครัวเรือน
ประโยชน์การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
       1. ใช้พื้นที่น้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
       2. ใช้เวลาเลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90 - 120 วัน
       3. ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
       4. สามารถเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือนำไปจำหน่ายได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
       1. การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
          - บ่อควรอยู่ใกล้บ้าน หรือที่สามารถดูแลได้สะดวก
          - ควรอยู่ในร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดดจัด และป้องกันเศษใบไม้ลงสู่บ่อจะทำให้น้ำเสียได้
          - มีแหล่งน้ำสำหรับเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวกพอสมควร
       2. การสร้างบ่อ
          - บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 40 ซม.
          - ควรมี 2 บ่อ เพื่อใช้คัดขนาดปลาและสำรองน้ำไว้ถ่ายเท
          - ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึม
          - มีท่อระบายน้ำเพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ
การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
       1. การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ เติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ 3 - 5 วัน เปลี่ยนต้นกล้วยแล้วแช่ไว้อี่ครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูนขาว แล้วล้างบ่อให้สะอาด
       2. ตรวจสอบสภาพน้ำให้เป็นกลางหมดฤทธิ์ของปูน ถ้ามีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อปูนถึงจะดี
       3. น้ำที่จะใช้เลี้ยงคือน้ำจากคลอง หนอง บึง ต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูปลาเข้ามาในบ่อด้วยหรือเปล่า
       4. น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรพักน้ำไว้ประมาณ 3 - 5 วัน ก่อนนำมาใช้ได้
อัตราการปล่อยปลาและเลี้ยง
      1. ปลาเริ่มเลี้ยงความยาว 5 -7 ซม.
      2. อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในถังซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ถึก 40 ซม. ประมาณ 80 - 100 ตัว
      3. ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยงควรใส่เกลือแกลงประมาณ 2 - 3 ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
      4. ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรก 10 -15 ซม.
      5. การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า
     6. ควรนำถุงปลาที่จะปล่อยลงเลี้ยงแช่ในบ่อประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงปลาและน้ำในบ่อไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้
     7. ควรมีวัสดุให้ปลาหลบซ่อน เช่นท่อพีวีซีตัดเป็นท่อนหรือกระบอกไม้ไผ่ เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก
      8. ควรมีการคัดขนาดปลา เมื่อมีอายุประมาณ 15 -20 วัน โดยนำตัวเล็กแยกไว้อีกบ่อหนึ่ง
      9. ควรมีวัสดุช่วยบังแสงแดด
การถ่ายน้ำ
       1. เริ่มเลี้ยงระดับน้ำลึก 10 - 15 ซม.
       2. เพิ่มระดับน้ำอีก 5 - 10 ซม. เมื่อเลี้ยงไปได้ 10 - 15 วัน
       3. ระดับน้ำสูงสุดไม่เกิน 40 ซม.
       4. ถ่ายเทน้ำทุก 5 -7 วัน
       5. ถ่ายเทน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายจนหมด ถ่ายน้ำประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ
       6. ขณะถ่ายเทน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจเพราะปลาจะไม่กินอาหาร 2-3 วัน
อาหารและการให้อาหาร
       1. อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
          - ปล่อยปลาขนาด 5-7 ซม. ให้อาหารปลาดุกเล็ก
          - ปลาขนาด 7 ซม. ขึ้นไป ให้อาหารปลาดุกรุ่น
       2. อาหารสด เช่น เศษปลา ไส้ไก่ ปลวก โครงไก่ การให้อาหารควรให้อาหารวันละประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเช้า-เย็น ให้อาหารประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน (หรือให้กินจนอิ่ม)
การป้องกันและรักษาโรคปลาดุก
       1. ไม่ปล่อยปลาหนาแน่นเกินไป
       2. ไม่ให้อาหารมากจนเกินไป
       3. รักษาคุณภาพน้ำให้เหมาะสม
       4. ถ่ายเทน้ำทุก 5-7 วัน
โรคปลาดุกและการรักษา
       1. โรคกระโหลกร้าว แก้ไขโดยผสมวิตามินซี 1 กรัมกับอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 15 วัน
       2. โรคจากเชื้อแบคทีเรียและแผลข้างตัว ใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเททราไซคลิน 1 กรัม ผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 7-10 วัน
       3. หากมีปลาตายและเป็นแผลตามลำตัวให้ทำลายปลาตาย เช่น เผาหรือฝัง

การเลี้ยงกบ

อุปนิสัยใจคอของกบซึ่งมีความสำคัญเพื่อประกอบการเลี้ยงเช่น กบมีนิสัยดุร้ายและชอบรังแกกันการเลี้ยงกบคละกันโดยไม่คัดขนาดเท่า ๆ กัน ในบ่อเดียวกัน เป็นเหตุให้กบใหญ่รังแกและกัดกินกบเล็กเป็นอาหาร หรือไม่รู้ว่านิสัยใจคอของกบเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงมีลักษณะโปร่ง เช่น เป็นอวนไนลอนทำให้กบสามารถมองเห็นทิวทัศน์ภายนอกมันจะกระตือรือร้นที่จะดิ้นรนหาทางออกไปสู่โลกภายนอก โดยจะกระโดดชนอวนไนลอนจนปากบาดเจ็บและเป็นแผล เป็นเหตุให้ลดการกินอาหารหรือถ้าเจ็บมาก ๆ ถึงกับกินอาหารไม่ได้เลยก็มี อย่างไรก็ตาม เอกสารคำแนะนำเรื่องการเลี้ยงกบนี้ จะแนะนำวิธีการเลี้ยงทั้งแบบกึ่งพัฒนา และการเลี้ยงแบบพัฒนา ทั้งนี้เพื่อผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงแต่ละแบบเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ทุนทรัพย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป
การเลือกสถานที่ที่จะสร้างคอกกบ หรือ บ่อเลี้ยงกบ
1. ควรเป็นที่ที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา และป้องกันศัตรู
2. เป็นที่สูง ที่ดอน เพื่อป้องกันน้ำท่วม
3. พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอก
4. ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
5. ให้ห่างจากถนน เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้พักผ่อนเต็มที่และโตเร็ว
บ่อหรือคอกเลี้ยงกบ
     ที่ที่จะทำบ่อเลี้ยงกบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพบ่อปูนหรือคอกเลี้ยง จะต้องไม่ควรอยู่ไกลจากที่อยู่อาศัยมากนัก เพราะศัตรูของกบมีมาก โดยเฉพาะกบนั้นเมื่อตกใจเพราะมีภัยมา มันจะไม่ส่งเสียงร้องให้เจ้าของรู้เหมือนสัตว์อื่น ๆ ศัตรูของกบส่วนมากได้แก่ งู นก หนู หมา แมว และที่สำคัญที่สุดได้แก่ คน ดังนั้นถ้าบ่อเลี้ยงหรือคอกเลี้ยงกบ อยู่ห่างจากที่อยู่อาศัยมาก ก็จะถูกคนขโมยจับกบไปขายหมด นกนั้นมีทั้งกลางวันและกลางคืน นกกลางคืนโดยเฉพาะนกเค้าแมวสามรถลงไปอยู่ปะปนและจับกบกินอย่างง่ายดายแมวนับว่ามีส่วนทำลายกบมากเพราะถึงแม้มันจะจับกบกินก็เพียงตัวเดียวแล้วก็อิ่ม แต่เมื่ออิ่มแล้วมันก็ยังจับกบตัวอื่น ๆ มาหยอกเล่น และทำให้กบตายในที่สุด
พันธุ์กบที่นำมาเลี้ยง
     กบที่เหมาะสมจะนำมาทำการเพาะเลี้ยงนี้ ได้แก่ กบนา ซึ่งถ้าเลี้ยงอย่างถูกต้องตามวิธีการและใช้เวลาเพียง 4-5 เดือน จะได้กบขนาด 4-5 ตัว/กก. เป็นกบที่มีความเจริญเติบโตเร็ว โดยมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3.4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก. ทั้งยังเป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคกันมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ ลักษณะของกบนานั้นตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่ากบตัวเมีย และ ส่วนที่เห็นได้ชัดก็คือกบตัวผู้เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถว ๆ มุมปากล่างทั้งสองข้างในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวผู้จะเป็นผู้ส่งเสียงร้อง และในขณะที่ร้องนั้นส่วนของกล่องเสียงจะพองโตและใส ส่วนตัวเมียนั้นจะมองไม่เห็นส่วนของกล่องเสียงดังกล่าว กบตัวเมียก็ร้องเช่นกันแต่เสียงออกเบา ถ้าอยู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ กบตัวเมียที่มีไข่แก่จะสังเกตเห็นส่วนของท้องบวมและใหญ่กว่าปกติ ขณะเดียวกันที่กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องบ่อยครั้งและสีของลำตัวออกเป็นสีเหลืองอ่อนหรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นชัดกว่าตัวเมีย ถึงอย่างไรสีของกบจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย
     สำหรับกบบลูฟร็อกจะแตกต่างไปจากกบนาอย่างเห็นได้ชัด โดยมีผิวหนังส่วนใหญ่เรียบแต่มีบางส่วนขรุขระและเป็นสีน้ำตาลปนเขียว มีจุดสีน้ำตาล ลักษณะเด่นเห็นชัดคือมีส่วนหัวที่เป็นสีเขียวเคลือบน้ำตาลและที่ข้างท้องมีลายน้ำตาลใต้ท้องเป็นสีขาว ขาทั้งสี่เป็นลายน้ำตาลดำ ลำตัวอ้วนโดยเฉพาะส่วนท้องใหญ่กว่ากบนา กบที่โตเต็มที่จะมีลักษณะกระเดียดไปทางอึ่งอ่าง ด้วยลักษณะประจำตัวเช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้ไม่มีกบชนิดนี้วางจำหน่ายทั้งตัวในตลาดสด เพราะนอกจากจะมีลักษณะไม่ชวนให้ซื้อหามาประกอบอาหารแล้ว รสชาติของเนื้อกบบูลฟร็อก ยังมีคุณภาพสู้กบนาไม่ได้อีกด้วย ส่วนลักษณะกบตัวผู้นั้นจะมีวงแก้วหูใหญ่อยู่ด้านหลังตาและใหญ่กว่าตา และ กบบลูฟร็อกตัวผู้ทุกพันธุ์ใต้คางจะเป็นสีเหลืองส่วนกบตัวเมียจะเห็นวงแก้วหูเล็กกว่าตาสำหรับผู้ที่คิดจะเลี้ยงกบบลูฟร็อกจะต้องคำนึงถึงตลาด ถ้าท่านไม่มีตลาดต่างประเทศรองรับหรือไม่ใช่พื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศ ควรเลี้ยงกบนาซึ่งมีตลาดทั้งในและนอกประเทศอีกทั้งระยะเวลาเลี้ยงยังน้อยกว่าอีกด้วย
ที่มา  :  https://sites.google.com/site/banraisrisutus/kar-leiyng-kb
          :  http://extension.fisheries.go.th/bkk_fisheries/knowledge2.html


กิจกรรม



    ให้นักเรียนปรับปรุงสถานที่มีอยู่ในของโรงเรียนและให้นักเรียนได้แบ่งเวณกันให้อาหารปลาและกบในแต่ละวัน




















องค์ความรู้

วิชาคณิตศาสตร์

1.  ใช้ในการคำนวณระยะเวลาในการกินอาหารปลา  นักสามารถที่จะคำนวณการกินอาหารปลาในแต่ละวันได้
2.  นักเรียนสามารถจคำนวณการเจริญเติบของของกบและปลาได้  โดยการใช้วิธีการวัดและชั่งนำ้หนักของกบและปลา

วิชาวิทยาศาสตร์

1.  นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวัฎจักรของกบและปลา
2.  นักเรียนได้เรียนรู้การดำรงชีวิตของกบแลพปลาได้  โดยปลาดุกที่เลี้ยงในบ่อซีเมนต์จะต้องใส่ดินเข้าเพื่อการย่อยอาหารของปลา  


อาจารย์ที่ปรึกษา

คุณครูจุมพล   ใจสมัคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น